สัญญาจ้างงานเป็นข้อตกลงการจ้างงานที่เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจในมาตรฐานที่ทางองค์กรคาดหวังว่าพนักงานต้องปฏิบัติตามขณะร่วมงานกับองค์กร และช่วยลดความเสี่ยงให้แก่องค์กรในการรับผิดชอบต่อการจ้างงานในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
แบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างเป็นสิ่งที่ทั้งองค์กรและพนักงานควรทำความเข้าใจ โดยในบทความนี้ GreatDay HR ได้รวบรวมทุกข้อมูลเกี่ยวกับแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างทั่วไปเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างกันให้มากขึ้น
แบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างคืออะไร
employment contract form หรือแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างทั่วไปเป็นข้อตกลงที่ลงนามโดยลูกจ้างและนายจ้าง (หรือสหภาพแรงงาน) เกี่ยวกับสิทธิ ความรับผิดชอบ และภาระผูกพันระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงระยะเวลาการจ้างงาน โดยแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาในการจ้างงาน (ถ้ามี)
- เงินเดือนหรือค่าจ้าง
- หน้าที่การงานและความรับผิดชอบทั่วไป
- ตารางเวลาการทำงาน
- ประโยชน์ที่จะได้รับ
- การรักษาความลับขององค์กร
- ข้อตกลงต่าง ๆ
- ค่าชดเชย (ถ้ามี)
- รายละเอียดการสิ้นสุดการจ้างงาน
โดยทั่วไปแล้วแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างจะมีการลงนามโดยทั้งสองฝ่ายหลังจากที่มีการตกลงยินยอมรับข้อเสนองานและก่อนวันทำงานวันแรกของพนักงาน (หรือภายใน 2-3 สัปดาห์แรกของการทำงาน)
แบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างสำคัญอย่างไร จำเป็นไหมที่ผู้ว่าจ้างต้องทำสัญว่าจ้างงาน
แบบฟอร์มสัญญว่าจ้างทั่วไปจะเป็นเครื่องการันตีในการปกป้องนายจ้างและลูกจ้างในกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการจ้างงานเกิดขึ้น เพราะในสัญญาจ้างนั้นจะมีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าความคาดหวังของแต่ละฝ่ายคืออะไร ซึ่งช่วยขจัดข้อสงสัยหรือความเข้าใจผิดของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังให้การคุ้มครองทางกฎหมายหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่าฝืนสัญญา ตัวอย่างเช่น หากพนักงานไม่ได้รับเงินเดือนตามชั่วโมงทำงานที่ระบุไว้ในสัญญา พนักงานสามารถโต้แย้งหรือฟ้องร้องได้ได้โดยชอบเพราะขัดกับสัญญาโดยตรง และจากมุมมองของนายจ้าง สัญญาว่าจ้างจะสามารถช่วยจัดการความคาดหวังในสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ไม่โอเคภายในองค์กรได้ การมีสัญญาจ้างงานที่มั่นคงพร้อมสวัสดิการที่กำหนดไว้จึงถือว่าเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจในหมู่พนักงาน
ผู้ว่าจ้างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำสัญญาจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับนายจ้างในการทำสัญญากับพนักงานทุกคน แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องทำเป็นวันแรก แต่จำเป็นต้องลงนามในสัญญาภายใน 2 เดือนแรกของการจ้างงาน โดยข้อกำหนดเกี่ยวกับสัญญาจ้างทั้งหมดอาจมีการตกลงกันด้วยวาจาล่วงหน้าและมีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งหมายความว่านายจ้างยังคงต้องจ่ายและให้วันหยุดแก่พนักงานก่อนลงนามเซ็นสัญญาในเอกสารอย่างเป็นทางการนั่นเอง ดังนั้น จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของทั้งสองฝ่ายในการเขียนแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างโดยเร็วที่สุด
ลูกจ้างแบบไหนที่ควรเซ็นแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้าง
โดยทั่วไปแล้วพนักงานทุกคนควรลงนามในข้อตกลงการจ้างงาน แต่ข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาจ้างอาจมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของพนักงานที่ทางองค์กรกำลังจะว่าจ้าง เช่น
- พนักงานเต็มเวลา: เป็นพนักงานที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดสำหรับทำงานชั่วโมงเต็มเวลา (โดยปกติคือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และได้รับการว่าจ้างอย่างถาวรโดยไม่มีวันสิ้นสุดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- พนักงานพาร์ทไทม์: เป็นพนักงานที่ทำงานน้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (โดยทั่วไปคือ 25-35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และได้รับการว่าจ้างแบบถาวรโดยไม่มีวันสิ้นสุดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- พนักงานสัญญาจ้างชั่วคราว: พนักงานที่ได้รับการว่าจ้างในช่วงเวลาหนึ่ง q โดยมีวันที่สิ้นสุดที่ตกลงกันไว้ พนักงานเหล่านี้มีความแตกต่างจากพนักงานรับจ้างอิสระ เนื่องจากได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นพนักงานประจำตลอดระยะเวลาการจ้างงาน
ประโยชน์ของแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้าง
การเขียนสัญญาการจ้างงานมีข้อดีต่อทั้งองค์กรและพนักงาน ประโยชน์ของการมีแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างคือให้ทั้ง 2 ฝ่ายรู้ความคาดหวังอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องการจากแต่ละฝ่าย และยังเป็นหลักฐานยืนยันว่าจะสามารถปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายได้ สัญญาว่าจ้างยังเป็นตัวกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่แต่ละฝ่ายคาดว่าจะทำอีกด้วย โดยประโยชน์ของสัญญาว่าจ้าง มีดังนี้
- สัญญาจ้างงานเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันตามกฎหมายที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะดำเนินการทางกฎหมายโดยไม่มีมูลความจริงในภายหลัง
- สัญญาจ้างงานช่วยให้พนักงานทราบอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับความคาดหวังของทั้งสองฝ่าย และช่วยให้สามารถรู้ได้ว่าจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างไรหากองค์กรหรือลูกจ้างไม่ปฏิบัติตาม
- ส่วนการลาหยุดงานที่ได้รับค่าจ้าง (PTO) ของสัญญาจ้างจะช่วยจำกัดค่าล่วงเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงานในวันหยุดของพนักงาน ซึ่งทำให้ทางองค์กรเองสามารถเป็นผู้ควบคุมและช่วยให้พนักงานเข้าใจจำนวนชั่วโมงการทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาที่จะได้รับล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้องค์กรประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
- หากธุรกิจขององค์กรเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นความลับ องค์กรอาจเลือกที่จะเพิ่มข้อกำหนดในสัญญาเกี่ยวกับการรักษาความลับที่ห้ามไม่ให้พนักงานเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
วิธีเขียนแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้าง
1. ตั้งชื่อสัญญาจ้าง
ตั้งชื่อสัญญาจ้างงานเพื่อให้ผู้ที่ตรวจสอบหรือลงนามในเอกสารเข้าใจว่าสัญญาจ้างนี้คืออะไร ตัวอย่างเช่น “ข้อตกลงการจ้างงาน” หรือ “สัญญาการจ้างงาน [ชื่อองค์กร]”
2. ระบุคู่กรณี
ข้อตกลงการจ้างงานมักจะระบุว่าฝ่ายใดกำลังทำสัญญากับฝ่ายใด ให้พิจารณาเขียนชื่อธุรกิจขององค์กรและชื่อบุคคลที่กำลังว่าจ้างให้ชัดเจน
3. ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไข
ข้อกำหนดและเงื่อนไขขั้นต่ำสำหรับสัญญาจ้างงานจะถูกกำหนดโดยรัฐบาลกลาง ข้อกำหนดและเงื่อนไขเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ชั่วโมงทำงานและค่าใช้จ่ายนั้นมีความชดเชย ข้อกำหนดและเงื่อนไขแตกต่างกันไป ดังนั้น จึงควรตรวจสอบกฎหมายของรัฐเกี่ยวกับการจ้างงานด้วย
ข้อกำหนดและเงื่อนไขอื่นๆ นอกเหนือกฎหมายแรงงานนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง โดยมักรวมไปถึงผลประโยชน์ ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือขณะป่วย ชุดยูนิฟอร์ม และเงื่อนไขอื่น ๆ
4. ร่างความรับผิดชอบงาน
เขียนโครงร่างความรับผิดชอบงานเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานใหม่รับทราบถึงความคาดหวังจากองค์กร โดยสามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ให้กับแต่ละความรับผิดชอบได้
5. รวบรวมรายละเอียดค่าตอบแทน
ระบุรายละเอียดค่าตอบแทนอย่างชัดเจนในสัญญาจ้าง ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา เงินครอบคลุมวันหยุด โบนัสประจำปี รวมไปถึงวิธีการชำระเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
6. ใช้เงื่อนไขสัญญาที่เฉพาะเจาะจง
สัญญาจ้างโดยทั่วไปมีเงื่อนไขสัญญาเฉพาะ เช่น วันที่มีผลในการเป็นพนักงานขององค์กร ประเภทของการจ้างงาน การแจ้งล่วงหน้า การเลิกจ้าง กระบวนการโต้แย้ง และกฎหมายที่บังคับใช้ เป็นต้น
แบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างทั่วไป สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
แบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างทั่วไปเป็นข้อตกลงที่ลงนามโดยลูกจ้างและนายจ้าง เป็นเครื่องการันตีในการปกป้องนายจ้างและลูกจ้างในกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการจ้างงานเกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายรู้ความคาดหวังอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องการจากแต่ละฝ่าย และยังเป็นหลักฐานยืนยันว่าจะสามารถปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายได้อีกด้วย