การว่าจ้างงานนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีประเภทของการว่าจ้างผู้สมัครงานมากมายเนื่องจากรูปแบบงานในยุคนี้นั้นมีความหลากหลายมากกว่าแต่ก่อน ลักษณะการว่าจ้างงานที่แตกต่างกันออกไปจึงถูกออกแบบมาให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมของแต่ละสายงานและความต้องการ และตอบโจทย์ต่อผู้ว่าจ้าง (รวมไปถึงผู้ถูกว่าจ้าง) มากที่สุด
สำหรับใครที่ยังคงยึดติดกับประเภทของการว่าจ้างผู้สมัครงานรูปแบบเก่า ๆ ในบทความนี้ GreatDay HR ได้รวบรวมประเภทของการว่าจ้างผู้สมัครงาน 5 ประเภทมาฝากคุณผู้อ่าน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ประเภทของการว่าจ้างผู้สมัครงาน
ตามหัวข้อบทความ การว่าจ้างผู้สมัครงานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท การทำความเข้าใจประเภทการว่าจ้างงานต่าง ๆ จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าประเภทของการว่าจ้างงานแบบไหนมีความเหมาะสมที่สุดกับแต่ละประเภทของงาน นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถเข้าใจข้อตกลงการว่าจ้างงานเมื่อเซ็นสัญญาทำงานกับผู้สมัครงาน โดยประเภทของการว่าจ้างผู้สมัครงาน มีดังนี้
1. การว่าจ้างแบบ full-time
การว่าจ้างงานแบบ full-time หรือแบบเต็มเวลาเป็นการจ้างงานที่พบได้บ่อยที่สุด พนักงานประจำมักทำงานตามเวลาปกติและมีสิทธิลางานเต็มเวลาโดยยังที่ได้รับการจ่ายเงินในสิทธิวันลานั้น ๆ อยู่ จุดเด่นของการว่าจ้างแบบเต็มเวลา คือ ส่วนใหญ่ระยะเวลาทำงานจะอยู่ที่ระหว่าง 38 ถึง 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทางองค์กรมักจะเสนอสวัสดิการต่าง ๆ ให้พนักงานที่ผ่านการว่าจ้างแบบ full-time นี้ เช่น สิทธิในการลาพักร้อน ลาป่วยหรือลากิจ หรือกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อดี
- พนักงานทุ่มเทแรงกายแรงใจให้องค์กร
- สามารถคาดหวังผลการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสีย
- ต้องจ่ายค่าสวัสดิการและประกันสังคมต่าง ๆ ให้พนักงาน
2. การว่าจ้างแบบ part-time
การว่าจ้างงานแบบ part-time นั้นเป็นการว่าจ้างงานในระยะเวลาสั้น ๆ และข้อกำหนดในเรื่องของเวลาเข้าออกงาน และจำนวนการทำงานในแต่ละสัปดาห์ เป็นการว่าจ้างงานที่พนักงานทำงานน้อยกว่า 38 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจะต้องมีการว่าจ้างกันอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวันโดยที่พนักงานพาร์ทไทม์โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสวัสดิการเหมือนพนักงานที่ผ่านการว่าจ้างแบบ full-time หรือพนักงานเต็มเวลา การทำงานแบบพาร์ทไทม์ก็มีข้อดีอยู่ตรงที่สามารถเลือกทำงานตามเวลาที่สะดวกหรือต้องการได้ อีกทั้งยังสามารถทำได้ไปพร้อม ๆ กับขณะที่เรียนอยู่หรือทำคู่กับงานอื่น ๆ ไปด้วยก็ได้
ข้อดี
- จ่ายค่าแรงเป็นรายชั่วโมง หรือตามที่ตกลง
- บางแห่งไม่ต้องจ่ายค่าสวัสดิการให้พนักงาน
ข้อเสีย
- ไม่สามารถคาดหวังผลการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
3. การว่าจ้างแบบสัญญาจ้าง
พนักงานที่ผ่านการว่าจ้างแบบสัญญาจ้าง จะมีการกำหนดระยะเวลาของงานที่แน่นอน และทำงานตามระยะเวลาที่กำหนดโดยมีวันระบุชัดเจน การว่าจ้างแบบสัญญาจ้างหากเรียกกันในชื่อคุ้นหู ก็คืองานฟรีแลนซ์ ซึ่งลักษณะงานของการว่าจ้างในรูปแบบนี้ คือ การกำหนดระเวลาทำงาน ทำงาน ส่งงานตรงเวลา และแยกย้ายกันไป แต่บางรายอาจมีการว่าจ้างใหม่ในโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ก็ได้ด้วยเช่นกัน
ข้อดี
- จ่ายเท่าที่ตกลงกับพนักงานฟรีแลนซ์
- บางแห่งไม่ต้องจ่ายค่าสวัสดิการให้พนักงาน
ข้อเสีย
- อาจมีความเสี่ยงตรงที่ไม่สามารถหาคนมาทำงานแทนในกรณีฉุกเฉิน
4. การว่าจ้างแบบฝึกงาน
พนักงานว่าจ้างแบบฝึกงานโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นนักศึกษาฝึกงานหรือผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ต่องานในสายนั้น ๆ ประเภทของการว่าจ้างงานในลักษณะนี้จะเป็นเหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า คือ ฝ่ายผู้มาขอรับการว่าจ้างจะได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ในการทำงาน ส่วนฝ่ายนายจ้างก็ได้พนักงานเข้ามาทำงานในองค์กรโดยไม่ต้องจ่ายเงินเดือน หรืออาจจะจ่ายในจำนวนเงินที่ไม่มากเท่ากับการว่าจ้างพนักงานคนหนึ่ง
โดยส่วนใหญ่แล้ว การว่าจ้างแบบฝึกงานจะมีระยะเวลาเพียงแค่ประมาณ 3-4 เดือนไปจนถึง 1 ปี จึงอาจไม่ได้รับสวัสดิการเทียบเท่ากับพนักงานประจำ
ข้อดี
- ประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องจ่ายเงินเดือน หรือหากจ่ายก็จ่ายเป็นจำนวนไม่มาก
- ไม่ต้องจ่ายค่าสวัสดิการให้พนักงาน
ข้อเสีย
- เนื่องจากเป็นการว่าจ้างในระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้ผลงานไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. การว่าจ้างแบบค่าคอมมิชชั่น
การว่าจ้างแบบค่าคอมมิชชั่นโดยทั่ว ๆ ไปจะพบได้กับงานเซลล์หรือพนักงานขาย โดยจะแบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 2 รูปแบบ คือ องค์กรบางแห่งอาจจะไม่จ่ายเงินเดือน แต่จะให้เป็นค่าคอมมิชชั่นในราคาที่สูงแทน และอีกรูปแบบคือองค์กรบางแห่งอาจจะให้เงินเดือนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินเดือนจำนวนนั้นเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในแต่ละเดือน แต่ไม่มากพอสำหรับการใช้ชีวิตที่สุขสบายอาจจะไม่มากนัก และจะมีค่าคอมมิชชั่นจ่ายแยกให้เมื่อทำยอดขายได้ เรียกได้ว่าจะจ่ายให้ตามผลงานที่พนักงานสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายนั่นเอง
ข้อดี
- ค่าคอมมิชชั่นที่สมเหตุสมผลเป็นแรงจูงใจที่ดีแก่พนักงาน
- การกำหนดแผนการจ่ายทำได้ง่าย
ข้อเสีย
- พนักงานมีความเป็นอิสระ จึงไม่ค่อยเห็นคุณค่าในองค์กร
สรุป การว่าจ้างหลากหลายประเภท ดีต่อองค์กรอย่างไร
การว่าจ้างในรูปแบบที่หลากหลายสามารถช่วยให้พนักงาน HR มีตัวเลือกในการมองหาพนักงานให้เหมาะสมกับเนื้องานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ตัวเลือกของการจ้างงานต่าง ๆ ยังช่วยหาคนเข้ามาทำงานให้ตรงกับความต้องการของงานนั้น ๆ โดยที่ยังสามารถควบคุมงบประมาณขององค์กรให้อยู่ในวงจำกัดได้โดยไม่ไม่ต้องจ่ายเยอะเกินความจำเป็นอีกด้วย