ในองค์กรหรือภาคธุรกิจ พนักงานถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญมาก ๆ เนื่องจากเป็นฟันเฟืองที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางที่กำหนดและสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร แต่ทั้งนี้ องค์กรและภาคธุรกิจต่างก็คาดหวังผลประกอบการที่ดีที่สุดจากการใช้ต้นทุนให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงอาจทำให้องค์กรหรือภาคธุรกิจหลาย ๆ แห่งอาจจะเอาเปรียบพนักงานในองค์กร และด้วยเหตุผลนี้เอง employee relations หรือ ฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ขององค์กรจึงมีความสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นภาคส่วนที่ช่วยดูแลชีวิตการทำงานของพนักงานออฟฟิศ
สำหรับใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับ employee relations และสงสัยว่าแผนกนี้มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ในบทความนี้เรามีคำตอบ
Employee Relations คืออะไร
employee relations คือ แรงงานสัมพันธ์ เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง หมายถึง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานของบุคคลและส่วนรวม สะท้อนถึงความสัมพันธ์ในการจ้างงานในสถานที่ทำงานของแต่ละบุคคล
การให้ข้อมูลและให้คำปรึกษาแก่พนักงานในองค์กรรั้รถือเป็นหลักการบริหารคนที่สำคัญและควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ในทุก ๆ องค์กร หากทำได้ดี จะทำให้กลไกการทำงานนั้นมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเจรจาระหว่างผู้บริหารและพนักงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น โดยทั่วไป employee relations หรือ แรงงานสัมพันธ์นั้นจะดำเนินการกันผ่านตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือก เป็นช่องทางในการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงมีโอกาสที่จะให้ข้อมูลหรือแผนงานที่สำคัญแก่พนักงาน และในส่วนของพนักงานนั้น พนักงานก็สามารถใช้สิทธิใช้เสียงในการเสนอแนะ ถามคำถาม หรือแจ้งข้อกังวลแก่องค์กรได้
ความสำคัญของแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร
องค์กรใดที่มีการบริหารจัดการแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรเป็นอย่างดีจะได้ประโยชน์มากมาย ไม่เพียงแต่ฝ่ายพนักงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อองค์กรอีกด้วย โดยความสำคัญของแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร มีดังนี้
สร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร
90% ของผู้นำในองค์กรเข้าใจวถึงความสำคัญของความผูกพันของพนักงานในองค์กร แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่รู้วิธีแก้ไขปัญหาของประเด็นเหล่านี้ ดังนั้น ฝ่ายพนักงานสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญ เพราะสามารถสื่อสารกับพนักงานในองค์กรได้ดีกว่า และสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานได้มากกว่า โดยเคล็ดลับในการสื่อสารต่อพนักงานเพื่อผลักดันการมีส่วนร่วมของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น คือ
- แบ่งปัน ทบทวน และปรับปรุงความคาดหวังของพนักงาน
- ส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด
- ไม่ละเลยความคิดเห็นของพนักงาน และรับฟังอย่างสม่ำเสมอ
- ส่งเสริมการแบ่งปันความคิดเห็นในหมู่พนักงาน
ช่วยเสริมสร้างผลงานของพนักงาน
ความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับพนักงานที่ดีจะมีผลผลิต รายได้ และผลกำไรที่สูงขึ้น ซึ่งมากกว่าบริษัทที่มีทีมหรือพนักงานที่มีส่วนร่วมน้อย
การรักษาพนักงานที่ทำงานยอดเยี่ยมให้อยู่คู่กับองค์กร
การลาออกของพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพนักงานที่ทำงานได้ดี เป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่องค์กรต้องเผชิญในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการออกจากงานของพนักงานมีความสำคัญ ดังนั้น องค์กรหลายแห่งจึงพยายามหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายนั้น
การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ นั้นทำได้หลากหลายวิธี การจัดการความสัมพันธ์ของพนักงานซึ่งเป็นงานของฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์เหล่านั้น
สนับสนุนพนักงานในองค์กร
การสนับสนุนพนักงานเป็นประโยชน์หลายบริษัทพยายามบรรลุ ความสามารถในการเข้าถึงการเชื่อมต่อของพนักงานและใช้ทุนทางสังคมของบริษัทของคุณอย่างเต็มศักยภาพ อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการมองเห็นของบริษัท การรับรู้ถึงแบรนด์ และประสิทธิภาพการทำงาน
ในการบรรลุการสนับสนุนพนักงาน นายจ้างต้องพร้อมที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์กับพนักงาน พวกเขาจำเป็นต้องให้พนักงานรับทราบและแชร์เนื้อหาที่สำคัญ
การเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน
พนักงานรุ่นใหม่มักต้องการมีส่วนร่วมในองค์กร พนักงานเหล่านี้ต้องการมีอำนาจในการตัดสินใจในระดับหนึ่ง ดังนั้น ในฐานะองค์กร จะทำอย่างไรเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กรมากที่สุด สิ่งนี้เราเรียกว่าการเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน ซึ่งมักตะเกี่ยวข้องกับการให้พนักงานมีความรับผิดชอบและความเป็นอิสระในการจัดการงานของตนเองและตัดสินใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเอง
และเพื่อให้พนักงานรู้สึกมีพลังและอำนาจในการตัดสินใจต่าง ๆ พนักงานต้องเข้าใจอย่างชัดเจนว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กรคืออะไร นอกจากนี้ พนักงานต้องถเข้าใจว่างานของพวกเขามีส่วนสนับสนุนความสำเร็จทางธุรกิจโดยรวมอย่างไรด้วย
ความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเสริมอำนาจในการตัดสินใจให้พนักงานที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำที่ไว้วางใจพนักงานและสื่อสารกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรอย่างสม่ำเสมอมักจะไม่มีปัญหาในการให้อำนาจแก่พนักงาน แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนขึ้นอย่กับการสื่อสารที่ชัดเจนและตรงประเด็น
พนักงานแรงงานสัมพันธ์ ทำอะไรบ้าง
พนักงานแรงงานสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายในการมุ่งเน้นไปที่การสร้างและส่งมอบแนวทางปฏิบัติด้านบุคลากร ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการพัฒนาและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างองค์กรกับพนักงานในองค์กร อีกทั้งยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสหภาพแรงงานและตัวแทนพนักงานในองค์กร พนักงานแรงงานสัมพันธ์มีหน้าที่ในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแนวทางปฏิบัติด้านบุคลากรขององค์กรมีความเป็นธรรมและโปร่งใส
นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจว่าสภาพแวดล้อมการทำงานที่แตกต่างกันสามารถสร้างความท้าทายที่แตกต่างกันได้ พนักงานแรงงานสัมพันธ์จึงต้องทำความเข้าใจกับประเด็นเหล่านี้ เช่น
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขีดความสามารถในการทำงานของพนักงาน
- พลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร)
- ทำงานอย่างไร ให้นโยบายแรงงานสัมพันธ์ของภาครัฐสอดคล้องกับภาพลักษณ์ขององค์กร
- กฎหมายการจ้างงานต่าง ๆ
- ความรู้ทางด้านกฎหมายที่ต้องอัปเดตและตามให้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา
- รู้วิธีรับมือและตอบสนองเมื่อความสัมพันธ์ในการจ้างงานระหว่างองค์กรและพนักงานไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องแน่ใจว่าองค์กรเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านี้
สรุป Employee Relations คือ แรงงานสัมพันธ์ที่สำคัญต่อทั้งพนักงานและองค์กร
ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่างานแรงงานสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กรและพนักงานผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานให้ที่ยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปต่อผลประกอบการขององค์กรในทุก ๆ แง่มุม